วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 9 

วัน อังคาร  ที่ 17  มีนาคม  พ.ศ.2558

กิจกรรมก่อนเรียนวันเที่ยวสวนสตอว์เบอรี่ 

เป็นเกมทายใจสนุกๆทำให้บรรยากาศก่อนเรียนสนุกสนานกัน



เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 

เรียนรู้การดำลงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
  • การกินอยู่
  • การเข้าหน้องน้ำ
  • การแต่งตัว
      กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน(เด็กสามารถทำได้ด้วยตัวเอง)

การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • เด็กอยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ 

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ 

  • การได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง 
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี 

หัดให้เด็กทำเอง

  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) เพราะบางที เมื่อเด็กทำไม่ได้ ครูอาจจะสงสารเด็ก
  •  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากจนเกินไป
  •  ต้องให้เวลาเด็กในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง 
  •  อย่าพูดคำว่า "หนูทำช่า", "หนูทำไม่ได้" "ห้ามพูดคำนี้กับเด็กเด็ดขาด

จะช่วยเมื่อไหร่ 

  • เด็กก็มีบางวันไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่ค่อยสบาย
  •  หลายครั้งเด็กขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว 
  •  เด็กรู้สึกว่า ยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  •  มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม 
ทักษะการช่วยเหลือตนเองในแต่ละช่วงวัย



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง 

  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ (การย่อยงาน)
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน

การวางแผนทีละขั้น 

  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 


สรุป

  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง 
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ 

   กิจกรรมบำบัดในวันนี้

ผลงานของฉัน

ผลงานของเพื่อนทุกคน

การประเมิน


ประเมินตนเอง    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
                           ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึก 
                          และมีส่วนร่วมในห้องเรียน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากค่ะ
                         เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน 
ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบอาจารย์มีกิจกรรมก่อนเรียนที่สนุกๆ
                         อาจารย์ให้ทั้งความรู้เทคนิคต่างๆดีๆกับนักศึกษาคอยเเนะนำสิ่งดีๆให้นักศึกษา
                         ได้นำไปใช้ได้จริง
                          
                         

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 8

วัน  อังคาร  ที่  10  มีนาคม  พ.ศ.2558

เนื้อหา / กิจกรรมที่เรียนในวันนี้กิจกรรมก่อนเรียนเที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า เป็นเกมสนุกๆ

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม 
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น 
  • การใช้เสียงหนึ่งเเทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง 
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
  • ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ 
  • ตามสบาย  คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐาน
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การเเสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการเเสดงออกทางภาษา 
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ 
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง 
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามสถานการณ์ 

เช่น ขณะที่เด็กกำลังพยายามติดกระดุม 
  ครูควรทำ    1.) เข้าไปถามเด็ก "ทำอะไรอยู่" 
                     2.) จากข้อที่1 หากเด็กไม่ตอบ ครูต้องบอกบท "ติดกระดุมอยู่ใช่มั้ย เดี๋ยวครูติดให้นะ"
                     3.) ฝึกให้เด็กพูดตาม "ติดกระดุม' 
                     4.) ครูติดให้ หรือจับมือเด็กติดกระดุม
 ถ้าครูเข้าไปติดกระดุมให้เด็กทันที ในขณะที่เด็กกำลังพยายามติดอยู่นั้นทำให้เด็กติดกระดุมด้ายตนเองไม่ได้และไม่เกิดทักษะทางภาษากับเด็กอีกด้วย

   กิจกรรม ดนตรีบำบัด
ผลงานของฉัน


การประเมิน 

ประเมินตนเอง   :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
                             และตอบคำถามที่อาจารย์ถามเรียนสนุกสนาน ไม่เครีย
                              ชอบการยกตัวอย่างที่อาจารย์นำมาสอนสามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน     :เข้าเรียนตรงเวลา ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเพื่อนๆตั้งใจเรียน
                            มีส่วนร่วมในการทำกิจรรมในห้องเรียนให้ห้องเรียนในห้องเรียนสนุกสนาน  
                            เรียนอย่างมีความสุข
ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการยกตัวอย่างเพิ่มเติม
                            ทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้ดี อาจารย์สอนสนุกไม่เครียดมีกิจกรรม
                            ดนตรีบำบัดเด็กพิเศษสามารถนำไปใช้ได้จริง

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7


วัน  อังคาร  ที่  3  มีนาคม  พ.ศ. 2558


   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ

กิจกรรมในวันนี้
กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต


1. ทักษะทางสังคม 
  •  การที่เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคมนั้น ไม่ได้เกิดจาพ่อแม่
  •  พัฒนาการของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง

*ทักษะทางสังคมต้องปรับที่ตัวเด็กไม่ใช้ปรับที่สภาพแวดล้อม*

   กิจกรรมการเล่น 
  •  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  •  เด็กจะสนใจกันเอง โดยอาศัยการเล่นเป็นสื่่อ
  •  ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอิ่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่ น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
  •  เด็กจะเลียนแบบการเล่นของเพื่อน


   ยุทธศาสตร์การสอน 
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น
  • ครูจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  •  ครูต้องจดบันทึก และเขียนแผน IEP



     การกระตุ้นการเลียนแบบ
  •   วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  •   คำนึงถึงเด็กทุกคน
  •   ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  •   เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ                                                         

   ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  •   อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  •  ยิ้ม และพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  •  ไม่ชมเชย หรือสนใจเด็กมากจนเกินไป
  •  เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  •  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  •  ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
  •  ทำโดย " การพูดนำของครู "
 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้ กฎเกณฑ์
  •  เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
  •  การให้โอกาสเด็ก
  •  ครูไม่ต้องใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
  กิจกรรม ดนตรีบำบัด   


 เพลง สำหรับเด็กปฐมวัย 
   
เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู     จุ๊กกรู   จุ๊กกรู   จุ๊กกรู  จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย

คำถามท้ายหลังเรียน
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคม ให้กับเด็กในห้องเรียนรวมได้อย่างไร 

การประเมิน 

ประเมินตนเอง   :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ จดบันทึกความรู้เพิ่มเติม
                            เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนเรียนสนุกสนาน ไม่เครียดชอการยกตัวอย่าง
                            ที่อาจารย์นำมาสอนสามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา ทุกคนแต่งกายถูกระเบียบมีส่วนร่วมให้ห้อง
                            เรียน มีการจดบันทึกบรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน 
ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการยกตัวอย่างเพิ่มเติม
                            ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาอาจารย์สอนสนุกไม่เครียดสามารถนำ
                            ความรู้ที่ไดรับไปใช้ได้จริงทั้งเด็กพิเศษ และเด็กปกติ




วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6

วัน  อังคาร  ที่  17  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558

                                                                  ความรู้ที่ได้รับวันนี้                                                                                    
 ทักษะทางสังคม
  •  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  •  การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น               
  •   การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  •  เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  •  ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง 
 ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  •  ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  •  จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  •  ครูจดบันทึก
  •   ทำแผน IEP    
 การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  •  เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  •  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม          

 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย “การพูดนำของครู”

 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง   
                                 วันนี้ห้องหนู มาเซอร์ไพรส์วันเกิดย้อนหลังให้อาจารย์เบียร์ค่ะ ดีใจที่อาจารย์ชอบของขวัญชิ้นนี้ ค่ะ
*ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ *                                               






บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5




บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5 

วัน อังคาร ที่  10  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558

เนื้อหาที่่เรียนวันนี้สอนเกี่ยวกับการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติพร้อมทำกิจกรรมในห้องเรียนและการฝึกร้องเพลงเด็กปฐมวัย
กิจกรรมวันนี้
ให้นักศึกษาสวมถุงมือเเล้ววาดมือข้างที่สวมถุงมือไว้ ว่าเราสังเกตหรือจำจดรายละเอียดของมือเราได้มากน้อยเเค่ไหน



จากกิจกรรมนี้ ทำให้เราทราบว่าการบันทึกพฤติกรรมของเด็กไม่ควรใช้วิธีการจำ ควรบันทึกสิ่งที่เราเห็นในขณะที่เด็กได้แสดงพฤติกรรมออกมา เพราะถ้าจำแล้วค่อยมาบันทึกจะได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนได้ครูควรที่มีสมุดเล่มเล็กหรือกระดาษแผ่นเล็กๆติดตัวไว้เมื่อเห็นเด็กแสดงพฤติกรรมอะไรก็จดบันทึกได้

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
  • การมองเห็นการปรับความรู้สึกต่อทัศนคติตนเอง
  • การมองเห็นควรมองเด็กเหมือนกันทั้งหมด
  •  เป็นครูต้องมองเด็กและรู้จักเด็กเเต่ละคนให้ดีทุกคน


การฝึกเพิ่มเติม
  •  อบรมระยะสั้น สัมมนา
  • สื่อต่างๆ

เข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าเเตกต่าง ( ต.ย.เช่น 20 คนในห้องเรียนจะมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าเเตกต่างกัน
  • รู้จักเด็กเเต่ละคน และมองเด็กให้เป็นเด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  •  การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความเเตกต่างของเด็กเเต่ละคนได้ง่าย

 ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ ( เด็กเเต่ละคนในห้องจะมีพฤติกรรมหรือลักษณะไม่ค่อยต่างกันมาก เเต่ถ้าเด็กเป็นต่างชั้น เช่น อ.1 อ.2 จะต่างกันเยอะ
  • เเรงจูงใจ   ในห้องเรียนจะต่างกันเยอะ เเต่ถ้าเด็กอยากเรียนเหมือนกันเเรงจูงใจก็เหมือนกัน
  •  โอกาส   เด็กแต่ละคนมีโอกาสเรียนต่างกัน  เด็กปกติย่อมมีโอกาสเรียนสูงกว่าเด็กพิเศษ

* กิจกรรมก็อย่าให้ยากเกินไป หรือง่ายเกินไป  เเต่ทุกกิจกรรมต้องพัฒนาเด็กให้มากที่สุด*
การสอนโดยบังเอิญ
  •  จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กเข้ามาหาครูในช่วงว่างๆ ส่วนมากจะเป็นเด็กพิเศษ

อุปกรณ์
  •  มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนเเบบเด็กปกติ
  •  เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนเเปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  •  กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำยนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  •  การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
  • การเเก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป่าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน *ข้อนี้สำคัญมากที่สุด*

การใช้สหวิทยาการ
  •  ใจกว้างต่อคำเเนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
  • การเก็บข้อมูลจากอาชีพอื่นไว้พื่อเป็นฐานให้เรามีความรู้หลากหลายจากอาชีพอื่น

การเปลี่ยนพฤตกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
  •  เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  •  เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้เเรงเสริม  ( เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่ )
  •  ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีเเนวโน้มจะพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  •  หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

วิธีการเเสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา  การชม
  •  การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  •  พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  •  สัมผัสทางกาย  
  •  ให้ความช่วยหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้เเรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  •  ครูต้องให้เเรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  •  ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กเเสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
  •  ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมี่พึ่งประสงค์

การเเนะนำหรือบอกบท 
  •  ย่อยงาน
  •   ลำดับความยากง่ายของงาน
  •  การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  •  การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้เเรงเสริม
  •  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  •  วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานเเต่ละขั้น
  •  สอนจากง่ายไปยาก
  •  ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  •  ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  •  ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น
  •  ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
  •  จำนวนและความถี่ของเเรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
  •  การจับช้อน
  •  การตัก
  •  การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อจะเข้าปาก
  •  การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้รดรดคาง
  •  การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

การลดหรือหยุดเเรงเสริม
  •  ครูจะงดเเรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  •  ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  •  เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
  •  เอาเด็กออกจากของเล่น




กิจกรรม : ร้องเพลงเด็กปฐมวัย

เพลง  ผลไม้
ส้มโอ เเตงโม  แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ  ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว  เเตงกวา
คะน้า  กว้างตุ้ง  ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง กะหล่ำปลี

เพลง  ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดสี
เหลือง  แดง  ม่วงมี  เเสด  ขาว  ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล 
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา 
เข็ม  เเก้ว  ลัดดา  เฟื่องฟ้า  ราตรี
ผู้เเต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน


ประเมินตนเอง :  เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาความรู้ และทำกิจกรรมวาดมือของตนเองซึ่งทำให้คิดว่ามือของเรา 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนและช่วยกันร้องเพลง
ประเมินอาจารย์:อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจง่ายพร้อมอธิบายรายละเอียดให้ฟังได้ชัดเจน มีการเล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น สอนสนุกมีเพลงมาสอนที่หลากหลายทำให้สามารถนำไปใช้ในการสอนได้